ReadyPlanet.com
dot dot
bulletติดต่อ-จองการฝึกอบรม
bulletติดต่อซื้อสินค้า
bulletแผนที่
dot
E-mail

dot
bulletสนามฝึกดับเพลิง บริษัท บีพีฯ
bullet Facebook BP
bulletตย.เอกสาร ILO-OSHMS-2001
bulletตย.เอกสาร มอก 18000
bulletมุม จป.
bulletข่าว วิทยากร/ครูฝึก




ข้อแนะนำ จป.มือใหม่

 จป.ป้ายแดง...

ข้อแนะนำสำหรับ จป.ใหม่ ที่ก้าวเข้าสู่....สถานประกอบการ

หาก เริ่มทำงานในตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน (Safety Officer) จะเริ่มทำอะไรก่อน คำตอบของคำถามนี้ก็คงแตกต่างกันไปตามการทำงานของแต่ละคน  แต่ขอแนะนำจากประสบการณ์ทำงาน เป็นดังนี้

1. ค้นหาข้อมูลของสถานประกอบการที่เราทำงาน ให้ละเอียดที่สุดเท่าที่ทำได้ เช่น ประเภทกิจการ, จำนวนพนักงาน, โครงสร้างองค์กร, ขั้นตอนการทำงาน, เครื่องจักรและเครื่องมือที่ใช้ในสถานประกอบการ, สารเคมีในสถานประกอบการ, มาตรฐานความปลอดภัยที่สถานประกอบการเข้าร่วม, สถิติอุบัติเหตุ และรายละเอียดงานด้านความปลอดภัยที่สถานประกอบการปฏิบัติอยู่ เป็นต้น

2. เมื่อรวบรวมข้อมูลดังกล่าวข้างต้นแล้วก็นำข้อมูลที่ได้มาศึกษาว่า มีประเด็นไหนบ้าง ที่สถานประกอบการไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ให้ทำการเสนอให้นายจ้างให้ปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่มี ในกรณีที่บริษัทมีมาตรฐานความปลอดภัยที่เหนือกว่ากฎหมายไทย ให้ยึดตามมาตรฐานที่เหนือกว่า (ในขั้นตอนนี้ จะรวมถึงการกำหนดแผนงานบางอย่างด้วย เช่น การจัดให้มีการอบรมดับเพลิง, ตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปี, ตรวจสอบเครนประจำปี เป็นต้น)

3. จัดตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย และกำหนดวาระการประชุม

4.  ตรวจสอบเครื่องจักร และอุปกรณ์การทำงานว่าอยู่ในสภาพสมบูรณ์หรือไม่ กำหนดผู้รับผิดชอบในการตรวจสอบเครื่องจักร ในแต่ละเดือน

5.  ตรวจสอบการจัดเก็บสารเคมีในสถานประกอบการ ว่ามีจัดเก็บที่ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่

6.  ตรวจสอบขั้นตอนการทำงานทั้งหมด รวมถึงการใช้เครื่องจักร และสารเคมี ว่ามีขั้นตอนที่ถูกต้อง หรือไม่ และมีอันตรายใดบ้างที่อาจจะเกิดได้ (ค้นหาอันตราย) ในขั้นตอนนี้ควรนำสถิติอุบัติเหตุมาตรวจสอบด้วยว่าเคยมีอุบัติเหตุอะไรเกิด ขึ้นแล้วบ้าง และสถานประกอบการทำการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำแล้วหรือไม่ (ขั้นตอนนี้รวมถึงการตรวจสอบสภาพแวดล้อมในการทำงานด้วย เช่น ความร้อน แสงสว่าง เสียงดัง การยศาสตร์)

7. เมื่อพบอันตรายจากขั้นตอน แล้ว ให้นำมาประเมินความเสี่ยง และหาทางป้องกันอันตรายไม่ให้เกิดขึ้น

8.  นำข้อมูลทั้งหมดมาจัดทำเอกสาร ในการตรวจสอบ ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ เช่น เอกสารตรวจสอบเครื่องจักร, อุปกรณ์ไฟฟ้า, ระบบดับเพลิง เป็นต้น

9. จัดทำหลักสูตรและจัดให้มีการอบรมพนักงานใหม่ ให้ทราบถึงกฎระเบียบ และวิธีทำงานที่ปลอดภัยในสถานประกอบการ

10. จัดทำแผนงานความปลอดภัย รายเดือน รายปี

11. จัดทำแผนฉุกเฉินต่างๆ ไฟไหม้  สารเคมี  น้ำท่วม  ก่อการร้าย , กำหนดจุดรวมพล

12. จัดกิจกรรมความปลอดภัยในการทำงาน เช่น การจัดบอร์ด จัดนิทรรศการ

13. เตรียมรายงานส่งราชการ

 

  ที่กล่าวมาข้างต้น ไม่จำเป็นว่าต้องทำอย่างใดให้เสร็จก่อน แล้วจึงเริ่มต้นอีกอย่างนะ หลายอย่างสามารถทำไปได้พร้อมๆ กัน ถ้ามีการบริหารจัดการที่ดี

รายละเอียดเรื่อง งานด้านความปลอดภัยมีมาก   แต่ถ้าทำได้ตามขั้นตอนที่กล่าวมาข้างต้น คิดว่าทุกอย่างคงเริ่มเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้นแล้ว….. 

 

 

คุณชนินทร วงษ์มงคล

ผู้จัดการส่วนอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (กสร.จป.ว ๑๐๖-๐๐๐๑๖๓)

สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่   บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

chaninton@amarin.co.th

 




มุม จป.

ประเภทของไฟ
แนวตัวอย่างแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย



Copyright © 2010 All Rights Reserved.