ReadyPlanet.com
dot dot
bulletติดต่อ-จองการฝึกอบรม
bulletติดต่อซื้อสินค้า
bulletแผนที่
dot
E-mail

dot
bulletสนามฝึกดับเพลิง บริษัท บีพีฯ
bullet Facebook BP
bulletตย.เอกสาร ILO-OSHMS-2001
bulletตย.เอกสาร มอก 18000
bulletมุม จป.
bulletข่าว วิทยากร/ครูฝึก




OSHMS-SP-13 การตรวจสอบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

 

AMARIN

PRINTING & PUBLISHING

 

ระเบียบปฏิบัติ

หมายเลขเอกสาร:

  

ออกเอกสารเมื่อ:  01-01-55

เรื่อง :  การตรวจสอบระบบการจัดการ

            ความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

แก้ไขครั้งที่ :   00

หน้า : 1/5

1. วัตถุประสงค์

 

1.1.1                   เพื่อประเมินระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยว่าได้ดำเนินการสอดคล้อง กับข้อกำหนดและมีประสิทธิภาพเพียงพอและมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องหรือไม่

1.1.2                   เพื่อการเตรีมข้อมูลเพื่อใช้ในการทบทวนโดยฝ่ายบริหารและการปรับปรุงระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

2.ขอบเขต

 

การตรวจสอบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยภายในหน่วยงานต่าง ๆ ขององค์กรตามระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ILO-OSHMS 2001

 

3 .เอกสารอ้างอิง

 

ไม่มี

 

4. นิยาม               

 

ไม่มี

 

5.รายละเอียดการปฏิบัติ

 

5.1          บุคคลหรือคณะบุคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะ ได้แก่ OSHMR หรือบุคคล / คณะบุคคลนั้นต้องได้รับการคัดเลือกจากคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อในการทำงาน (คปอ) และแต่งตั้งให้เป็นบุคคล หรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

5.2          บุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยจะต้องตรวจสอบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยอย่างน้อยทุก 6 เดือน

( ทุกระยะเวลา 6 เดือน ) และรายงานผลการตรวจสอบให้คณกรรมการความปลอดภัย

อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือผู้บริหารสูงสุดขององค์กรและรายงานข้อบกพร่องที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

5.3          บุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจะต้องแจ้งวัน เวลาและประเด็นการตรวจสอบให้กับหน่วยงานที่ถูกตรวจสอบก่อนดำเนินการการตรวจสอบตามแบบใบแจ้งการตรวจสอบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย (OSHMS-FM-27)

5.4          บุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยจะต้องตรวจสอบประเมินองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบการจัดการความปลอดภัย

และอาชีวอนามัยซึ่งประกอบด้วย

                5.4.1      นโยบายความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

                5.4.2      การมีส่วนร่วมของพนักงาน

                5.4.3      หน้าที่และความรับผิดชอบ

5.4.4      ความสามารถเฉพาะและฝึกอบรม

                5.4.5      การจัดทำเอกสารระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

                5.4.6      การสื่อสาร

                5.4.7      การวางแผนและพัฒนาระบบ และการนำไปปฏิบัติ

                5.4.8      มาตรการในการป้องกันและควบคุม

                

5.4.9      การจัดการการเปลี่ยนแปลง

                5.4.10    การป้องกัน การเตรียมพร้อม และการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

                5.4.11    การจัดซื้อ จัดหา

                5.4.12    การจ้างเหมา

                5.4.13    การตรวจติดตามและวัดผลการปฏิบัติงงาน

                5.4.14    การสอบสวนการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย โรค และอุบัติการณ์จากการทำงาน

                                และผลการกระทบต่อการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

                5.4.15    การตรวจสอบ

                5.4.16    การทบทวนการจัดการ

                5.4.17    การดำเนินการป้องกันและแก้ไข

                5.4.18    การปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และ

                5.4.19    การตรวจสอบองค์ประกอบอื่น ๆ ตามความเหมาะสม

5.5          การออกใบขอให้มีการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน (CAR/PAR) (OSHMS-FM-28)

ผู้ตรวจสอต้องนำข้อมูลหลักฐาณที่ตรวจพบมาพิจารณา กรณีพบการปฏิบัติงานที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบการจัดการความปลอดภัยและ

อาชีวอนามัย บุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบออกใบขอให้มีการปฏิบัติการแก้ไขและป้องกัน (CAR/PAR) (OSHMS-FM-28) ให้กับผู้ที่ถูกตรวจสอบ

5.6          บุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

จะต้องสรุปผลการตรวจสอบ โดยข้อสรุปผลของการตรวจสอบจะต้องระบุว่าองค์ประกอบ ของระบบการจัดการความปลอดภัและอาชีวอนามัยที่ได้นำไปปฏิบัตินั้นมีประสิทธิผลในการบรรลุนโยบายและวัตถุประสงค์ด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยขององค์กรและข้อกำหนดของระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยหรือไม่

5.7          บุคคล / คณะบุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจะต้องรายงานผลการตรวจสอบให้ผู้รับการตรวจสอบ OSHMR / คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ)

5.8          ในกรณีที่พบข้อบกพร่อง ผู้รับการตรวจสอบต้องนำเสนอแนวทางการแก้ไขให้หัวหน้าหน่วยงาน

                พิจารณาและผ่านความเห็นชอบของ OSHMR พร้อมกำหนดผู้รับผิดชอบ วันเวลาแล้วเสร็จ

   

5.9          บุคคลหรือคณะบุคคลที่ทำหน้าที่ตรวจสอบจะต้องติดตามผลการออกใบขอให้มีการปฏิบัติการแก้ไขและป้อง (CAR/PAR) (OSHMS-FM-28) ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

5.10        OSHMR นำผลการตรวจสอบ เข้าไปรายงานในที่ประชุมทบทวนโดยฝ่ายคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการ (คปอ) ทำงานเพื่อพิจารณาทบทวน ระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัยขององค์กรและกำหนดแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมต่อไป

 

6.การควยคุมบันทึก

 

หมายเลขเอกสาร

ชื่อบันทึกคุณภาพ

การจัดเก็บ

การทำลาย

ระยะเวลา

สถานที่

วิธีการ

ผู้อนุมัติ

วิธีการ

OSHMS-FM-27

ใบแจ้งการตรวจสอบ

 

 

 

 

 

 

ระบบการจัดการฯ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

OSHMS-FM-28

ใบขอให้มีการปฎิบัติ

 

 

 

 

 

 

การแก้ไขและป้องกัน

 

 

 

 

 

 

(CAR/PAR)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




ระบบ ILO-OSHMS-2001

OSHMS-SP-15 การป้องกันและแก้ไข
OSHMS-SP-14 การทบทวนการจัดการโดยฝ่ายบริหาร
OSHMS-SP-12 การสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์
OSHMS-SP-11 การเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงานและสุขภาพ
OSHMS-SP-10 การจ้างเหมา
OSHMS-SP-09 การจัดซื้อ จัดหา
OSHMS-SP-08 การป้องกันเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
OSHMS-SP-07 การประเมินความเสี่ยง
OSHMS-SP-06 วัตถุประสงค์ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-05 การทบทวนเบื้องต้น
OSHMS-SP-04 การติดตามและการดำเนินการฯลฯ
OSHMS-SP-03 การสื่อสาร
OSHMS-SP-02 การจัดทำเอกสารระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-01 ความสามารถเฉพาะและการฝึกอบรม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.