ReadyPlanet.com
dot dot
bulletติดต่อ-จองการฝึกอบรม
bulletติดต่อซื้อสินค้า
bulletแผนที่
dot
E-mail

dot
bulletสนามฝึกดับเพลิง บริษัท บีพีฯ
bullet Facebook BP
bulletตย.เอกสาร ILO-OSHMS-2001
bulletตย.เอกสาร มอก 18000
bulletมุม จป.
bulletข่าว วิทยากร/ครูฝึก




OSHMS-SP-12 การสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์


AMARIN

PRINTING & PUBLISHING

 

ระเบียบปฏิบัติ

หมายเลขเอกสาร:

OSHMS-SP-12

ออกเอกสารเมื่อ:  01-01-55

เรื่อง :   การสอบสวนอุบัติเหตุ  อุบัติการณ์

             และการเจ็บป่วยจากการทำงาน

แก้ไขครั้งที่ :   00

หน้า : 1/4

1.              วัตถุประสงค์

 เพื่อสามารถดำเนินการค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ได้อย่างเป็นระบบและสามารถชี้บ่งสาเหตุพื้นฐาน (Basic Cause) เพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างมีประสิทธิผล

 2.              ขอบเขต

ระเบียบปฎิบัตินี้ใช้สำหรับการค้นหาสาเหตุของอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์เมื่อเกิดขึ้นในพื้นที่/งานรับผิดชอบ

 3.              เอกสารอ้างอิง

3.1      แนวการปฎิบัติเรื่อง  ระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ILO-OSHMS 2001

3.2      กฎกระทรวงกำหนดมาตราฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

 

4.              นิยาม

อุบัติเหตุ (Accident)   หมายถึง    เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจและก่อให้เกิดความสูญเสียต่อคน  ทรัพย์สิน  กระบวนการผลิต

อุบัติการณ์ (Incident)  หมายถึง  เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้ตั้งใจแต่ยังไม่สูญเสียต่อคนทรัพย์สิน  กระบวนการผลิต  แต่ถ้าเงื่อนไขเปลี่ยนอาจก่อให้เกิดความสูญเสียได้

 

5.              รายละเอียด

 

5.1      เมื่อเกิดอุบัติเหตุ  ผู้ประสบเหตุ/ผู้เห็นเหตุการณ์เข้าระงับเหตุการณ์หากการดำเนินการได้แต่ถ้าไม่สามารถเข้าระงับเหตุฉุกเฉินได้ให้แจ้งผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนการดำเนินการกรณีเหตุฉุกเฉินต่อไป  เมื่อเหตุการณ์ถูกระงับแล้วให้แจ้งไปยังหัวหน้างานผู้รับผิดชอบในพื้นที่รับผิดชอบในพื้นที่ทราบ  เพื่อดำเนินการค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ต่อไป

5.2      เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในงานทำงานระดับวิชาชีพร่วมกับหัวหน้างานหรือผู้รับผิดชอบเข้าดำเนินการเก็บรวบรวมหลักฐานในที่เกิดเหตุ  และสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อนำข้อมูลไปทำการวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ตามแบบฟอร์มรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์หรือเหตุการณ์ผิดปกติเบื้องต้น (OSHMS-FM-26)

5.3      ข้อมูลที่ได้จากการค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ที่ได้นำไปสู่การวิเคราะห์สาเหตุพื้นฐาน(Basic Cause) รวมถึงการกำหนดมาตราการการปรับปรุงแก้ไขที่เหมาะสม  เพื่อนำไปสู่การป้องกันปัญหาต่อไป  ผลการสอบสวนต้องสื่อสารให้คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานทราบ  และคณะกรรมการฯควรให้ข้อเสนอแนะที่เหมาะสม  ผลการสอบสวนและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการฯ ต้องนำเข้าสู่การทบทวนการจัดการ

5.4      ข้อมูลการแก้ไขเสนอผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานตามลำดับชั้นและการสั่งการแก้ไขตามสายงาน

5.5      ผู้ที่รับผิดชอบการดำเนินการแก้ไข  เมื่อดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จให้มีการรายงานให้ผู้บังคับบัญชารับทราบ  รายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์ที่เกิดจากหน่วยงานภายนอก  เช่น  สำนักแรงงานความปลอดภัย  กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ ให้มีการดำเนินการแก้ไขเช่นเดียวกันกับการสอบสวนสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ

5.6      รายงานการสอบสวนอุบัติเหตุต้องเป็นลายลักษณ์อักษรและจัดเก็บไว้เป็นบันทึกคุณภาพ

     

6.               การควบคุมบันทึก

 

หมายเลขเอกสาร

ชื่อบันทึกคุณภาพ

การจัดเก็บ

การทำลาย

ระยะเวลา

สถานที่

วิธีการ

ผู้อนุมัติ

วิธีการ

OSHMS-FM-26

 

 

แบบรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ/อุบัติการณ์หรือเหตุการณ์ผิดปกติเบื้องต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 




ระบบ ILO-OSHMS-2001

OSHMS-SP-15 การป้องกันและแก้ไข
OSHMS-SP-14 การทบทวนการจัดการโดยฝ่ายบริหาร
OSHMS-SP-13 การตรวจสอบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-11 การเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงานและสุขภาพ
OSHMS-SP-10 การจ้างเหมา
OSHMS-SP-09 การจัดซื้อ จัดหา
OSHMS-SP-08 การป้องกันเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
OSHMS-SP-07 การประเมินความเสี่ยง
OSHMS-SP-06 วัตถุประสงค์ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-05 การทบทวนเบื้องต้น
OSHMS-SP-04 การติดตามและการดำเนินการฯลฯ
OSHMS-SP-03 การสื่อสาร
OSHMS-SP-02 การจัดทำเอกสารระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-01 ความสามารถเฉพาะและการฝึกอบรม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.