ReadyPlanet.com
dot dot
bulletติดต่อ-จองการฝึกอบรม
bulletติดต่อซื้อสินค้า
bulletแผนที่
dot
E-mail

dot
bulletสนามฝึกดับเพลิง บริษัท บีพีฯ
bullet Facebook BP
bulletตย.เอกสาร ILO-OSHMS-2001
bulletตย.เอกสาร มอก 18000
bulletมุม จป.
bulletข่าว วิทยากร/ครูฝึก




OSHMS-SP-11 การเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงานและสุขภาพ


AMARIN

PRINTING & PUBLISHING

 

ระเบียบปฏิบัติ

หมายเลขเอกสาร:

OSHMS-SP-11

ออกเอกสารเมื่อ:  01-01-55

เรื่อง :  การเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงาน   และสุขภาพ

แก้ไขครั้งที่ :   00

หน้า : 1/3

 1.        วัตถุประสงค์

เพื่อให้มีการติดตามตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานตามข้อกำหนดในกฏหมายและความเสี่ยงที่แฝงเร้นอยู่ในสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

2.        ขอบเขต

 ครอบคลุมการติดตาม  ตรวจสอบและตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานในทุกลักษณะงานและลักษณะความเสี่ยงแฝงเร้นอยู่ในสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 

3.  เอกสารอ้างอิง

              3.1  แนวปฏิบัติเรื่อง  ระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย  ILO-OSHMS  2001

                3.2  กฏกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและจัดการด้านความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน   แสงสว่างและเสียง  พ.ศ  2549

                3.3  OSHMS-SP-10  ระเบียบปฏิบัติงานเรื่อง  การจ้างเหมา

                3.4  OSHMS-SP-15  ระเบียบปฏิบัติงานเรื่อง  การป้องกันและแก้ไข

 4.  นิยาม

 ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน  หมายถึง    การตรวจวัดเพื่อประเมินปริมาณของอันตราย ที่แฝงเร้นอยู่ในสภาพแวดล้อมในการทำงานทั้งทางด้านกายภาพ  เคมี  ชีวภาพและการยศาสตร์โดยมีการนำข้อมูลที่ตรวจวัดได้ทำการประเมินผลเทียบค่ามาตรฐานในกฏหมาย/มาตรฐานการเกี่ยวข้อง

   

5.  รายละเอียด

           

5.1  ให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรวบรวมและระบุอันตรายที่อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยใช้ข้อมูลจากการประเมินความเสี่ยง(ทะเบียนความเสี่ยง)  ข้อมูลสารเคมีอันตรายกฏหมายและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการประเมินสภาพแวดล้อมในการทำงานทั้งทางด้านกายภาพ  เคมี  ชีวภาพและการยศาสตร์  โดยใช้แบบรายการระบุความจำเป็นในการตรวจสิ่งแวดล้อมในการทำงาน (OSHMS-FM-25)  และส่งข้อมูลการระบุอันตรายให้กับ OSHMR และ/หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย

                5.2  OSHMR หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายทบทวนความถูกต้องเหมาะสมและรวบรวมการระบุอันตรายที่เกิดจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน  ประสานงานกับหน่วยงานที่ทำการตรวจวัด  และหัวหน้าที่รับผิดชอบพื้นที่  เพื่อจัดทำแผนตรวจวัดแล้วดำเนินการตรวจวัดและ/หรือประสานงานเพื่อให้มีการตรวจวัดตามแผนที่กำหนดกรณีทีไม่สามารถดำเนินการได้โดยองค์กรเองและต้องทำการจัดจ้างบุคคลภายนอกให้ดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติงานเรื่อง  การจ้างเหมา  (OSHMS-SP-10 )

                5.3  กรณีที่ผลการตรวจวัดเกินเกณฑ์ที่กำหนด  หัวหน้างานที่รับผิดชอบพื้นที่ต้องดำเนินการตามระเบียบปฏิบัติงานเรื่อง  การป้องกันและแก้ไข (OSHMS-SP-10)  เพื่อให้สภาพแวดล้อมในการทำงานเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด

                5.4  รายงานผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้แจ้งให้หัวหน้างานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบแล้วให้เก็บไว้ที่แฟ้มกลางของระบบการจัดการเอกสาร

                5.5  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย  จัดทำสรุป  เปรียบเทียบผลการตรวจวัดในแต่ละปีว่ามีแนวโน้มอยู่ในลักษณะใด  และรายงานผลการปรับปรุงสภาพแวดล้อม(ถ้ามี)  เข้าสู่การประชุมคณะกรรมการความปลอดภัย  อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ)

 

6.  การควบคุมบันทึก

 

หมายเลขเอกสาร

ชื่อบันทึกคุณภาพ

การจัดเก็บ

การทำลาย

ระยะเวลา

สถานที่

วิธีการ

ผู้อนุมัติ

วิธีการ

OSHMR-FM-25

แบบรายการระบุความจำเป็นในการตรวจสิ่งแวดล้อมในการทำงาน

 

 

 

 

 

 

 




ระบบ ILO-OSHMS-2001

OSHMS-SP-15 การป้องกันและแก้ไข
OSHMS-SP-14 การทบทวนการจัดการโดยฝ่ายบริหาร
OSHMS-SP-13 การตรวจสอบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-12 การสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์
OSHMS-SP-10 การจ้างเหมา
OSHMS-SP-09 การจัดซื้อ จัดหา
OSHMS-SP-08 การป้องกันเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
OSHMS-SP-07 การประเมินความเสี่ยง
OSHMS-SP-06 วัตถุประสงค์ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-05 การทบทวนเบื้องต้น
OSHMS-SP-04 การติดตามและการดำเนินการฯลฯ
OSHMS-SP-03 การสื่อสาร
OSHMS-SP-02 การจัดทำเอกสารระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-01 ความสามารถเฉพาะและการฝึกอบรม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.