ReadyPlanet.com
dot dot
bulletติดต่อ-จองการฝึกอบรม
bulletติดต่อซื้อสินค้า
bulletแผนที่
dot
E-mail

dot
bulletสนามฝึกดับเพลิง บริษัท บีพีฯ
bullet Facebook BP
bulletตย.เอกสาร ILO-OSHMS-2001
bulletตย.เอกสาร มอก 18000
bulletมุม จป.
bulletข่าว วิทยากร/ครูฝึก




OSHMS-SP-07 การประเมินความเสี่ยง

 

 

AMARIN

 PRINTING & PUBLISHING

 

 

 

ระเบียบปฎิบัติ

หมายเลขเอกสาร:

OSHMS-SP-07

ออกเอกสารเมื่อ:  01-01-54

เรื่อง :   การประเมินความเสี่ยง

 

แก้ไขครั้งที่ :   0

หน้า : 1 /5

1.              วัตถุประสงค์

 เพื่อให้ความมั่นใจว่าการประเมินความเสี่ยงการดำเนินงานในการชี้บ่งอันตรายและการประมาณระดับความเสี่ยงทุกกิจกรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ปฎิบัติงาน  มีกระบวนการดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพเพื่อนำมากำหนดมาตราการควบคุมความเสี่ยง

 2.              ขอบเขต

 

การดำเนินงานนี้ครอบคลุมการชี้บ่งอันตราย  การประมาณระดับอันตรายและประเมินความเสี่ยงทุกกิจกรรมและสภาพแวดล้อมในการทำงานของผู้ปฎิบัติงาน  มีกระบวนการดำเนินการอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพเพื่อนำมากำหนดมาตราการควบคุมความเสี่ยง

 

3.              เอกสารอ้างอิง

 

มาตราฐาน มอก.18001: 2542 ข้อกำหนดที่ 3 บทนิยาม

 

4.              นิยาม

 4.1        การบ่งชี้อันตราย  หมายถึง  กระบวนการในการค้นหาอันตรายที่มีอยู่และการระบุลักษณะอันตราย

4.2        การประเมินความเสี่ยง  หมายถึง  กระบวนการการประมาณระดับของความเสี่ยงและการตัดสินว่าความเสี่ยงนั้นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้หรือไม่

4.3        ความเสี่ยง  หมายถึง  ผลลัพธ์ของความน่าจะเกิดอันตรายและผลของอันตรายนั้น

 

5.              รายละเอียด

5.1        เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน  ระดับวิชาชีพหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายที่ผ่านการอบรมในเรื่องการชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยงดำเนินการรวบรวมกิจกรรมงานทั้งหมดของหน่วยงานและพื้นที่ที่รับผิดชอบ (รวมทั้งตำแหน่งของงานที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น ผู้รับเหมา ) โดยใช้แบบรวบรวมบัญชีงาน/กิจกรรม ( OSHMS-FM-16) และแบบรวบรวมรายการพื้นที่และสภาพแวดล้อม(OSHMS-FM-17) แล้วทำการชี้บ่งอันตรายโดยระบุแหล่งอันตรายและความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นทั้งบุคคล  ทรัพย์สิน  และกระบวนการทำงานลงในแบบการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง(OSHMS-FM-18) 

5.2        ประเมินระดับความรุนแรงที่อาจเกิดขึ้น  โดยใช้เกณฑ์ความความรุนแรงตามที่กำหนดไว้  ดังเกณฑ์

                     การประเมินระดับความรุนแรงข้างล่าง

 

ระดับความรุนแรง

ด้านบุคคล

ด้านมูลค่าทรัพย์สินและกระบวนการทำงาน(มูลค่าความสูญเสีย....บาท)

มาก

-เสียชีวิต

-ทุพพลภาพ

-สูญเสียอวัยวะ

-หยุดงานเกิน 3 วันขึ้นไป

- มากกว่า 50,000 บาท

ปานกลาง

-บาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานตั้งแต่ 1วัน ถึง 3 วัน

- มากกว่า 10,000 บาทแต่ไม่เกิน50,000 บาท

น้อย

-บาดเจ็บเล็กน้อยปฐมพยาบาล(ไม่หยุดงาน)

-น้อยกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท

                                               

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                  หมายเหตุ  มูลค่าความเสียหายด้านทรัพย์สินและกระบวนการทำงานสามารถปรับเปลี่ยนได้ตามความ

                     เหมาะสม

5.3        ประเมินโอกาสการเกิดอันตราย  โดยพิจารณาจากปัจจัยการเกิดอันตรายตามที่ได้กำหนดไว้  ดัง

รายละเอียดดังนี้  โอกาสที่จะเกิดอันตรายอันตรายจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับดังนี้

1.              มีโอกาสเกิดมาก  คือ  เป็นเหตุการณ์ที่เกิดบ่อยๆมีความถี่ในการเกิดมากกว่า 1 ครั้งใน 1 ปี

2.              มีโอกาสเกิดปานกลาง  คือ  มีความถี่ในการเกิด 1 ครั้ง ในช่วงเวลา 1-10 ปี

3.              มีโอกาสเกิดน้อย  คือ ไม่น่าเกิดหรือยากที่จะเกิดไม่เคยเกิดเหตุการณ์ขึ้นเลยในช่วง 10 ปี

5.4        นำความรุนแรง (มาก น้อย ปานกลาง)  และโอกาสเกิดอันตราย (มาก ปานกลาง น้อย)  มาประมาณความเสี่ยงโดยใช้ตารางการประมาณระดับความเสี่ยง  จะได้ระดับความเสี่ยงเป็น 3 ระดับดังแสดงไว้ในตารางประมาณระดับความเสี่ยงและนำผลการประเมินสรุปไว้ในแบบการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยง (OSHMS-FM-18)

ตารางประมาณระดับความเสี่ยง

 

โอกาสเกิดอันตราย

ความรุนแรง

มาก

ปานกลาง

น้อย

มาก

ความเสี่ยงยอมรับไม่ได้

ความเสี่ยงสูง

ความเสี่ยงปานกลาง

ปานกลาง

ความเสี่ยงสูง

ความเสี่ยงปานกลาง

ความเสี่ยงยอมรับได้

น้อย

ความเสี่ยงปานกลาง

ความเสี่ยงยอมรับได้

ความเสี่ยงเล็กน้อย

 

5.5        จัดทำทะเบียนความเสี่ยงโดยนำกิจกรรมงานทั้งหมดของหน่วยงานที่ประเมินความเสี่ยงแล้วมาจัดเรียง

ตามลำดับจากความเสี่ยงสูงจนถึงความเสี่ยงเล็กน้อยในทะเบียนความเสี่ยง (OSHMS-FM-19)

5.6        กิจกรรมงานที่ความเสี่ยงตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป  ต้องพิจารณาจัดทำแผนควบคุมความเสี่ยง(OSHMS-FM-20)  เพื่อมั่นใจได้ว่าความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับยอมรับได้

5.7        ผลการประเมินความเสี่ยงต้องทำการทบทวนอย่างน้อยปีละครั้ง  หรือเมื่อ

-                   มีการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมงาน และ/หรือ  ลักษณะงาน และ/หรือ กระบวนการทำงาน และ/หรือขั้นตอนปฎิบัติ  รวมถึงเปลี่ยนแปลงเครื่องจักร อุปกรณ์  วัสดุและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

-                   เกิดอุบัติการณ์ที่มีศักยภาพความสูญเสียสูง

-                   เกิดการเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่มีความเสี่ยง

                 

6.             การบันทึกการควบคุม

 

หมายเลขเอกสาร

ชื่อบันทึกคุณภาพ

การจัดเก็บ

การทำลาย

ระยะเวลา

สถานที่

วิธีการ

ผู้อนุมัติ

วิธีการ

OSHMS-FM-16

แบบรวบรวมบัญชีงาน/กิจกรรม

 

 

 

 

 

OSHMS-FM-17

แบบรวบรวมรายการพื้นที่และสภาพแวดล้อม

 

 

 

 

 

OSHMS-FM-18

แบบชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง

 

 

 

 

 

OSHMS-FM-19

ทะเบียนความเสี่ยง

 

 

 

 

 

OSHMS-FM-20

แผนปฎิบัติการความคุมความเสี่ยง

 

 

 

 

 

 

 

 




ระบบ ILO-OSHMS-2001

OSHMS-SP-15 การป้องกันและแก้ไข
OSHMS-SP-14 การทบทวนการจัดการโดยฝ่ายบริหาร
OSHMS-SP-13 การตรวจสอบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-12 การสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์
OSHMS-SP-11 การเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงานและสุขภาพ
OSHMS-SP-10 การจ้างเหมา
OSHMS-SP-09 การจัดซื้อ จัดหา
OSHMS-SP-08 การป้องกันเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
OSHMS-SP-06 วัตถุประสงค์ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-05 การทบทวนเบื้องต้น
OSHMS-SP-04 การติดตามและการดำเนินการฯลฯ
OSHMS-SP-03 การสื่อสาร
OSHMS-SP-02 การจัดทำเอกสารระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-01 ความสามารถเฉพาะและการฝึกอบรม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.