ReadyPlanet.com
dot dot
bulletติดต่อ-จองการฝึกอบรม
bulletติดต่อซื้อสินค้า
bulletแผนที่
dot
E-mail

dot
bulletสนามฝึกดับเพลิง บริษัท บีพีฯ
bullet Facebook BP
bulletตย.เอกสาร ILO-OSHMS-2001
bulletตย.เอกสาร มอก 18000
bulletมุม จป.
bulletข่าว วิทยากร/ครูฝึก




บอก-เล่า การจัดฝึกดับเพลิง...

ตามที่กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.2555 ในข้อ 27 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนลูกจ้างของสถานประกอบกิจการรับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น โดยให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรม    และ

ข้อ 30 ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างทุกคนฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ฯลฯ 

 

จากกฎกระทรวงดังกล่าวทุกท่านทราบอยู่แล้ว.. แต่ยังมี กฎกระทรวง  อีกหนึ่งฉบับที่พูดถึงหน่วยฝึกอบรม  วิธีการ  หัวข้อการฝึกอบรม ฯลฯ เรามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง...

 

กฎกระทรวงการเป็นหน่วยฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น และการเป็นหน่วยฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ พ.ศ.2556”

 

การจะเป็นหน่วยฝึกได้นั้นต้องยื่นคำขอ ไปยังกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  ซึ่งต้องผ่านตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด  เช่น เป็นนิติบุคคล  ต้องมีสนามฝึก  มีวิทยากรประจำ   และวิทยากรสนับสนุน ซึ่งคุณสมบัติต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ฯลฯ  เป็นต้น

 

 

เรามาดูวิธีการให้บริการ และการดำเนินการจัดฝึกอบรมกันบ้าง...ซึ่งมีขั้นตอนที่หลายท่านยังไม่ทราบ  (ขั้นตอนที่ว่านี้เป็นสิ่งที่กฎหมายกำหนด)

 

@ ก่อนการจัดฝึกอบรมหรือการฝึกซ้อม หน่วยฝึกอบรมฯ (นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาต) ต้องแจ้งกำหนดการฝึกอบรมหรือการฝึกซ้อม รายชื่อวิทยากร และผู้ดูแลการฝึกหรือซ้อมต่อ แรงงานจังหวัด หรือ กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานพื้นที่ ล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันทำการก่อนการอบรมหรือการฝึกซ้อม (วันหยุดราชการไม่นับนะครับ)

 

 @ หากพิจารณาจากข้อกฎหมายนี้แล้ว  สถานประกอบกิจการที่จะทำการฝึก ก็ต้องแจ้งล่วงหน้า หรือ Confirm ให้หน่วยฝึกอบรมฯ (นิติบุคคลที่ได้รับอนุญาต) ทราบล่วงหน้า   เพื่อให้ หน่วยฝึกอบรมฯ ได้แจ้งทางราชการ ไม่เช่นนั้น หากไม่แจ้งตามที่กฎหมายกำหนด ก็อาจมีปัญหากับการฝึกได้...เพราะทางราชการบางพื้นที่เข้มงวดมากในการแจ้งกำหนดการ

 

 

ต่อมา..มาดูหัวข้อ  เวลา  และรายละเอียดอื่นๆ  ที่กฎหมายกำหนดมาให้ในการฝึกอบรม และการฝึกซ้อม กันบ้าง

การฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น....ต้องจัดให้มีการฝึกทั้งภาคทฤษฎี และ ภาคปฏิบัติ  ผู้อบรมรมไม่เกิน  60 คนต่อห้องอบรม

# ภาคทฤษฎี ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง   (ใช้วิทยากร 1:60 คน) และต้องมีเนื้อหาหัวข้อ ดังนี้

 

1.ทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้

2.การแบ่งประเภทของเพลิง และวิธีดับเพลิงประเภทต่างๆ

3.จิตวิทยาเมื่อเกิดอัคคีภัย

4.การป้องกันแหล่งกำเนิดของการติดไฟ

5.เครื่องดับเพลิงชนิดต่างๆ

6.วิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในการดับเพลิง

7.แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย

8.การจัดระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย การประยุกต์ใช้ระบบและอุปกรณ์ที่มีอยู่ในสถานประกอบกิจการ (ตามกฎกระทรวงอัคคีภัย)

 

 

# ภาคปฏิบัติ ต้องอบรมไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง  (วิทยากร 1:20 คน) ต้องได้รับการฝึกภาคปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ดับเพลิง อย่างน้อยต้องมีการฝึกอบรมภาคปฏิบัติ ดังต่อไปนี้ 

1.ฝึกดับเพลิงประเภท  A  ด้วยการใช้เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้

2.ฝึกดับเพลิงประเภท  B  ด้วยการใช้เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้

3.ฝึกดับเพลิงประเภท  C  ด้วยการใช้เครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้

4.ฝึกดับเพลิงโดยใช้สายดับเพลิง

 

 

มาดู...

การฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ต้องจัดให้มีการประชุมชี้แจง และซักซ้อมผู้เกี่ยวข้องให้เข้าใจในเรื่อง ดังต่อไปนี้

1.แผนการดับเพลิงและวิธีการดับเพลิงของสถานประกอบกิจการ

2.แผนการอพยพหนีไฟและวิธีการอพยพหนีไฟของสถานประกอบกิจการ

3.การค้นหา ช่วยเหลือ และเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย

และสุดท้าย   ต้องมีการจำลองเหตุการณ์และฝึกซ้อมเสมือนเหตุการณ์จริงในสถานที่ปฏิบัติงานของผู้รับการฝึก....

สุดท้าย...มาดูกฎหมายฉบับนี้มีการกำหนดค่าบริการไว้ด้วย

 

 

# ค่าบริการในการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น

ลำดับที่

การฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น 

ไม่เกินต่อคน (บาท)

1

ต่อคน

1,500

 

# ค่าบริการในการฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ

ลำดับที่

การฝึกซ้อมตั้งแต่

ไม่เกินครั้งละ  (บาท)

1

10 ถึง 99 คน

15.000

2

100 ถึง  499 คน

20,000

3

500 คนขึ้นไป

25,000

 

 

ชนินทร วงษ์มงคล

ผู้จัดการส่วนอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

สำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่

บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

27 สค 57

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

     
     

 

 

 

 




Safety Fire

สธ. เตือนภัย ฟ้าผ่าฝนฟ้าคะนองห้ามใช้โทรศัพท์ – ท่องเน็ต
วันครอบครัวของพวกเรา article
ค่านิยมหลัก 12 ประการ article
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดไฟไหม้รถ
การติดต่อลุกลาม
รู้แล้วเอาตัวรอด “เพลิงไหม้” มีสติ...เพิ่มโอกาสปลอดภัย
เตือนภัย...ตึกสูงระวังไฟไหม้
ข้อหารือกฎหมายความปลอดภัย (การฝึกดับเพลิงขั้นต้น)
การอบรมลูกจ้างเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัย



Copyright © 2010 All Rights Reserved.