ReadyPlanet.com
dot dot
bulletติดต่อ-จองการฝึกอบรม
bulletติดต่อซื้อสินค้า
bulletแผนที่
dot
E-mail

dot
bulletสนามฝึกดับเพลิง บริษัท บีพีฯ
bullet Facebook BP
bulletตย.เอกสาร ILO-OSHMS-2001
bulletตย.เอกสาร มอก 18000
bulletมุม จป.
bulletข่าว วิทยากร/ครูฝึก




รู้แล้วเอาตัวรอด “เพลิงไหม้” มีสติ...เพิ่มโอกาสปลอดภัย

ด้วยอานุภาพความร้ายแรงของ อัคคีภัยหรือที่รู้จักกันในชื่อของเพลิงไหม้จึงมีคำโบราณกล่าวไว้ว่า โจรปล้น 7 ครั้ง ยังไม่เท่ากับไฟไหม้ครั้งเดียวนับเป็นภัยรูปแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ซึ่งอาจเกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ หรือจากวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องชำรุดเสียหาย ขณะเดียวกันอาจเกิดจากความประมาท ละเลย ไม่ได้สนใจเตรียมการระวังภัยประเภทนี้ จึงเป็นเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ขึ้นบ่อยครั้ง!

เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ครั้งใด ก็มักจะเกิดโศกนาฏกรรมที่เศร้าสลดตามมาแทบทุกครั้ง ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันตนเองและคนใกล้ตัวอย่างมีหลักการ หากต้องอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดเช่นนี้ จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนไม่ควรมองข้าม!!

ผศ.พ.ต.ท.ดร.ชัชนันท์ ลีระเติมพงษ์ อาจารย์ภาควิชาบรรเทาสาธารณภัยโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ให้ความรู้ว่า เพลิงไหม้เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดเองตามธรรมชาติ หรือโดยฝีมือมนุษย์ รวมทั้งความประมาทและอุบัติเหตุ

ความประมาทในการใช้เชื้อเพลิง ความร้อน และไฟฟ้า สาเหตุนี้เกิดจากเชื้อเพลิงที่ส่วนมากจะคายไอออกมาและเกิดประกายไฟบริเวณ ใกล้ ๆ ก็จะทำให้เกิด
เพลิงไหม้ได้ พวกความร้อน เช่น การจุดธูปเทียนบูชาพระทิ้งไว้ การหุงต้มแล้วลืมทิ้งไว้ ส่วนของไฟฟ้าก็อาจเกิดจากการชำรุดของอุปกรณ์ไฟฟ้าหรือการใช้ไฟเกินขนาด

ไฟจะติดขึ้นมาได้นั้น จะต้องมีองค์ประกอบของการเกิดไฟ ซึ่งการเผาไหม้โดยทั่วไปเป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดจากองค์ประกอบ 3 ประการด้วยกัน คือ เชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็น ของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ล้วนเป็นเชื้อเพลิงได้ทั้งสิ้น ประการต่อมา คือ ความร้อน เมื่อความร้อนถึงจุดจุดหนึ่งก็จะทำให้เชื้อเพลิงติดไฟได้ ซึ่งเชื้อเพลิงแต่ละชนิดจะต้องการความร้อนที่แตกต่างกัน และ ออกซิเจน หรือที่รู้จักกัน ก็คือ อากาศ โดยองค์ประกอบทั้ง 3 ชนิดนี้จะต้องอยู่ในภาวะที่เหมาะกับการติดไฟ จึงจะทำให้เกิดเป็นเปลวไฟขึ้นมาได้

ถ้าไม่มีสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 3 องค์ประกอบนี้ ไฟจะไม่เกิด หรือถ้าเกิดอยู่แล้วก็จะดับไป เพราะไฟที่เกิดขึ้นมามีลักษณะที่ไม่เหมือนกันจะแตกต่างกันไปตามลักษณะทาง กายภาพและปฏิกิริยาเคมีของการเกิดไฟ ทั้งยังเป็นไปตามลักษณะโครงสร้างของที่เกิดเหตุไฟไหม้ ทิศทางของลมพัด และปัจจัยอื่น ๆ อีกหลายประการ ฉะนั้น เมื่อเพลิงไหม้ การดับไฟจึงต้องจำกัดสิ่งใดสิ่งหนึ่งใน 3 สิ่งนี้ให้ได้ เช่น ลดความร้อนลง ด้วยการฉีดน้ำเข้าไปก็จะทำให้ความร้อนลดลงไฟก็จะดับ หรือตัดอากาศไม่ให้มีอากาศเข้าไปได้ไฟก็จะดับ หรือจะเป็นการปิดผิวหน้าไม่ให้เชื้อเพลิงสัมผัสกับอากาศก็จะทำให้ความร้อนลด ลง

อย่างไรก็ตาม เพลิงไหม้ที่เกิดขึ้นมีอยู่หลายประเภท ซึ่งการแบ่งไฟออกเป็นประเภทต่าง ๆ นั้นก็เพื่อให้ความสะดวกในการดับไฟ รวมทั้งหากต้องเผชิญกับไฟจะได้รู้ว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อให้เกิด ความปลอดภัย เพราะไฟแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติและปฏิกิริยาในการลุกไหม้ที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งสามารถแบ่งประเภทไฟตามชนิดของเชื้อเพลิงออกเป็น 4 ประเภท ด้วยกัน ประเภทแรก คือ ไฟประเภท ก. (Class A Fires) เป็นการเผาไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงธรรมดาทั่ว ๆ ไป เช่น ถ่าน ไม้ ผ้า พรม กระดาษ ใยสังเคราะห์ ยาง และพลาสติกบางชนิด มักจะเกิดตามบ้านเรือน คอนโดมิเนียม หรือโรงแรม

ต่อมา คือ ไฟประเภท ข. (Class B Fires) เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นสารไฮโดรคาร์บอนทุกชนิด เช่น ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิด ไขสัตว์ พาราฟิน ตัวทำละลายต่าง ๆ น้ำมันก๊าด น้ำมันพืช และยางมะตอย ลักษณะของเชื้อเพลิงชนิดนี้มักจะลอยน้ำ ถ้าเอาน้ำมาดับก็จะดับไม่สำเร็จ เพราะเชื้อเพลิงก็จะลอยขึ้นมาเหนือน้ำไฟก็ยังลุกอยู่ดี จึงต้องใช้น้ำยาเคมีดับหากไฟลามไปยังวัตถุที่เป็นไม้ กระดาษก็จะกลายเป็นไฟประเภทแรกด้วย

ไฟประเภท ค. (Class C Fires) ไฟประเภทนี้เป็นการเผาไหม้ที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือไหม้เครื่องไฟฟ้า ต่าง ๆ โดยขณะที่ไฟไหม้อยู่นั้นก็ยังคงมีกระแสไฟฟ้าด้วย ไฟชนิดนี้สังเกตได้ง่ายมากโดยสายไฟฟ้าจะติดไฟ ไฟชนิดนี้ห้ามใช้น้ำดับโดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ไฟดูดได้ ใช้โฟมฉีดก็ไม่ดับจึงต้องตัดกระแสไฟให้ได้ไฟถึงจะดับ แม้จะดับไฟชนิดนี้ได้แล้วแต่ก็อาจจะกลายเป็นไฟชนิด A แทนเพราะไฟได้ลามไปไหม้เชื้อเพลิงชนิด A ซึ่งอาจจะเป็นไม้ กระดาษ ตู้ แต่ต้นกำเนิดเป็นไฟชนิด C

สุดท้าย ไฟประเภท ง. (Class D Fires) ไฟประเภทนี้เป็นการเผาไหม้ที่เกิดจากเชื้อเพลิงที่เป็นโลหะติดไฟ เช่น พวกแมกนีเซียม อาทิ ล้อรถยนต์ รวมทั้ง ไทเทเนียม เซอร์โคเนียม โซเดียมโพแทสเซียม อะลูมิเนียม แอมโมเนียมไนเตรต ถ้าโลหะเหล่านี้ติดไฟจะทำให้เกิดไฟไหม้ที่รุนแรงมากส่วนมากจะเกิดขึ้นในโรง งานอุตสาหกรรม เมื่อลุกไหม้แล้วจะให้ความร้อนสูงมากใช้โฟมดับก็เอาไม่อยู่ต้องให้เจ้า หน้าที่เป็นคนดับเมื่อลามไปสู่เชื้อเพลิงอื่น ๆ ที่อยู่ใกล้เคียงก็จะกลายเป็นไฟชนิดอื่นได้เช่นกัน

เมื่อเกิดเพลิงไหม้มักมีผู้เสียชีวิต โดยส่วนใหญ่เข้าใจกันว่าถูกไฟไหม้ที่ผิวหนังแล้วเสียชีวิตหรือถูกความร้อน ย่างจนทนไม่ไหวแล้วเสียชีวิต ซึ่งความจริงแล้ว การเสียชีวิตของผู้ที่ติดอยู่ในเหตุการณ์ไฟไหม้ที่เร็วที่สุด คือ การหายใจเอาเปลวไฟหรือก๊าซร้อนเข้าไปในร่างกายหากหายใจเอาเปลวไฟเข้าไปใน จมูกเรื่อย ๆ จะเสียชีวิตได้ภายในเวลา 2-3 นาที เพราะจะทำให้ระบบการหายใจติดขัด ภายในร่างกายจะพองเมื่อพองก็จะบวมไปกดระบบทางเดินหายใจทำให้หายใจไม่ออกแล้ว หมดสติ

อีกกรณีหนึ่ง คือ ถ้าไม่ได้หายใจเอาก๊าซร้อนเข้าไป แต่หายใจเอา ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ เข้าไปจำนวนหนึ่งหรือที่เรารู้จักก็คือ ควันไฟ เพราะเปลวไฟมักจะไม่มาเผาผิวหนังเราเร็วนัก แต่เราจะรู้ว่าไฟไหม้จากควันก่อนเสมอ โดยจะมีกลิ่นและควันไฟนำมาก่อน หากสูดควันเข้าไปมาก ๆ อาจทำให้หมดสติในที่เกิดเหตุแล้วก็เสียชีวิตในภายหลัง เมื่อดับเพลิงได้แล้วเห็นผู้เสียชีวิตร่างไหม้เกรียมก็เข้าใจว่าโดนไฟคลอก ทั้ง ๆ ที่ความจริงเสียชีวิตไปก่อนแล้ว

ทั้งนี้หากอยู่ในสถานการณ์เพลิงไหม้ สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ ต้องมีสติ แม้จะเป็นเรื่องที่ปฏิบัติยากก็ตาม อย่าตื่นกลัว พยายามหาทางออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด และหลีกเลี่ยงการหายใจเอาเปลวไฟเข้าไป วิธีการที่ช่วยได้เมื่ออยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน คือ อย่าสูดควันเข้าไปและพยายามอยู่เหนือลม รวมทั้งใช้เสื้อผ้าที่เราใส่ถอดออกมาชุบน้ำแล้วนำมาปิดที่จมูกและปากเพื่อ ให้อากาศที่ผ่านเข้าไปไม่ร้อนจนเกินไป อย่าให้ความร้อนเข้าไปสู่ระบบหายใจของเราได้ พยายามรักษาอากาศที่มีอยู่ในร่างกายไว้ให้นานที่สุดตรงนี้อาจช่วยให้รอดออก มาจากที่เกิดเหตุได้ เพราะถ้าหายใจเอาความร้อนเข้าไปโอกาสที่จะเสียชีวิตในที่เกิดเหตุมีสูงเพราะ ในที่เกิดเหตุจะร้อนมาก

ควันไฟและควันพิษหากสูดดมเข้าไปอาจถึงแก่ความตายได้ เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ หากอยู่ในอากาศประมาณ 10% หายใจเข้าไปภายใน 2-3 นาทีจะเสียชีวิต ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ หากอยู่ในอากาศประมาณ 0.1% ก็จะทำให้ผู้สูดดมเข้าไปเสียชีวิตได้

หากอยู่ในห้องภายในอาคารที่เกิดเพลิงไหม้ อย่าเปิดประตูโดยทันที เพราะจะทำให้ควันไฟเข้ามาคุกรุ่นภายในห้อง ส่งผลให้หายไม่ออก รวมทั้งทำให้อากาศภายนอกเข้าไปช่วยผสมทำให้เกิดไฟลุกไหม้รุนแรงขึ้นได้ โดยก่อนเปิดประตูห้องให้ทดสอบความร้อนภายในห้องเสียก่อน ด้วยการใช้มือแตะลูกบิดประตู ถ้าร้อนและมีควันลอยเข้ามาใต้ช่องประตูอย่าเปิดโดยเด็ดขาด แสดงว่ามีไฟไหม้อยู่ไม่ไกล แต่ให้รีบหาผ้าปิดช่องที่ควันจะเข้ามาโดยเร็ว แล้วพยายามส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ

ในกรณีที่ลูกบิดไม่ร้อน ให้ค่อย ๆ เปิดประตูออกอย่างช้า ๆ แล้วมุ่งไปที่ทางหนีไฟหรือบันไดหนีไฟ อย่าใช้ลิฟต์และบันไดเลื่อนเด็ดขาด แต่ถ้ามีควันไฟและความร้อนพุ่งผ่านขึ้นมาตามบันไดให้หนีไปเส้นทางอื่น โดยใช้มือแตะที่ผนังด้านต่างๆ ด้านใดร้อนแสดงว่าด้านนั้นเกิดเพลิงไหม้ให้หนีไปในทิศตรงกันข้าม ต้องไม่หนีสวนควันไฟและความร้อน หากจำเป็นต้องหนีในทิศนั้นต้องหมอบคลานติดพื้นและใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกหรือ ใช้ผ้าชุบน้ำหุ้มตัวไว้ด้วยจะช่วยให้ไปต่อได้อีก 5-10 นาที แต่ถ้าไม่มีผ้าชุบน้ำปิดปากก็อาจจะไปได้ 1-2 นาทีก็จะหายใจไม่ค่อยออกแล้ว เริ่มมีอาการมึนงง และหมดสติในที่สุด

หากติดอยู่ในพื้นที่ที่ไม่สามารถหนีออกมาได้ ให้รีบโทรศัพท์แจ้ง 191 จากนั้น พยายามทำให้คนรู้ว่าเราติดอยู่ตรงนั้น โดยส่งสัญญาณด้วยการทุบผนังห้อง ตะโกน เคาะ ส่งเสียงหรือพยายามหาหน้าต่างใช้ผ้าโบกหรือตะโกนเพื่อขอความช่วยเหลือ รวมทั้งใช้ผ้าชุบน้ำปิดจมูกและปากไว้ แล้วไปในที่ที่คิดว่าเพลิงจะลามไปถึงช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งเป็นวิธีการซื้อเวลาที่ดีทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม เมื่ออยู่ในสถานการณ์เพลิงไหม้ อย่าลืมว่าสิ่งสำคัญที่สุด คือ รู้วิธีการต่อสู้และหนีไฟอย่างถูกต้อง โดยมีสติก่อนภัยมาและระหว่างภัยมา เพื่อจะได้เลือกวิธีการช่วยเหลือตนเองได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะเป็นหนทางที่จะทำให้มีชีวิตรอดได้.

หากอยู่ในสถานการณ์เพลิงไหม้ สิ่งสำคัญอันดับแรก คือ ต้องมีสติ แม้จะเป็นเรื่องที่ปฏิบัติยากก็ตาม พยายามหาทางออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด วิธีการที่ช่วยได้เมื่ออยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน คือ อย่าสูดควันเข้าไปและพยายามอยู่เหนือลม รวมถึงอย่าให้ความร้อนเข้าไปสู่ระบบหายใจของเราได้ พยายามรักษาอากาศที่มีอยู่ในร่างกายไว้ให้นานที่สุดตรงนี้อาจช่วยให้รอดออก มาจากที่เกิดเหตุได้

ลักษณะควันไฟที่เกิดจากเพลิงไหม้

ควัน หมายถึง ก๊าซที่มีอานุภาพของชิ้นส่วนที่ยังไม่ได้ไหม้ลอยปะปนอยู่มีความหนาแน่นพอที่ จะทำให้เห็นได้ว่าเกิดการพวยพุ่งไปกับอากาศร้อนเหนือเปลวไฟ นอกจากความร้อนที่ทำให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตและทรัพย์สินแล้ว ควันยังเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่เกิดจากไฟไหม้และทำให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและ ทรัพย์สินได้เช่นกัน เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่และผู้ประสบภัย สังเกตลักษณะของควันที่เกิดจากเพลิงไหม้ได้ ดังต่อไปนี้

ควันสีดำ แสดงถึง การเผาไหม้ที่อับอากาศ หรืออากาศไม่เพียงพอ

 




Safety Fire

สธ. เตือนภัย ฟ้าผ่าฝนฟ้าคะนองห้ามใช้โทรศัพท์ – ท่องเน็ต
วันครอบครัวของพวกเรา article
ค่านิยมหลัก 12 ประการ article
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดไฟไหม้รถ
บอก-เล่า การจัดฝึกดับเพลิง...
การติดต่อลุกลาม
เตือนภัย...ตึกสูงระวังไฟไหม้
ข้อหารือกฎหมายความปลอดภัย (การฝึกดับเพลิงขั้นต้น)
การอบรมลูกจ้างเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัย



Copyright © 2010 All Rights Reserved.