ReadyPlanet.com
dot dot
bulletติดต่อ-จองการฝึกอบรม
bulletติดต่อซื้อสินค้า
bulletแผนที่
dot
E-mail

dot
bulletสนามฝึกดับเพลิง บริษัท บีพีฯ
bullet Facebook BP
bulletตย.เอกสาร ILO-OSHMS-2001
bulletตย.เอกสาร มอก 18000
bulletมุม จป.
bulletข่าว วิทยากร/ครูฝึก




เตือนภัย...ตึกสูงระวังไฟไหม้

  อาคารสูงมีความเสี่ยงที่จะเกิดเพลิงไหม้ได้ตลอดเวลา ขณะที่อุปกรณ์ดับเพลิงในปัจจุบันมีค่อนข้างน้อย เจ้าของอาคารจึงต้องมีมาตรการป้องกันเหตุที่ดี โดยข้อมูลของสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พบว่า ในเขตกรุงเทพมหานครมีอาคารสูงมากกว่า 7 ชั้นกว่า 3,000 แห่ง ในจำนวนนั้นมีไม่น้อยที่มีความสูงเกินกว่า 30 ชั้น ขณะที่อุปกรณ์ในการดับเพลิงของหน่วยงานมีอยู่อย่างจำกัด โดยมีรถดับเพลิงพร้อมใช้กับอาคารสูง 4 ชั้น 94 คัน อาคารสูงไม่เกิน 20 ชั้น 35 คัน ไม่เกิน 25 ชั้น 10 คัน และ 30 ชั้น เพียง 1 คัน ซึ่งรถดับเพลิงเหล่านี้จะมีประจำอยู่ตามพื้นที่ย่านที่มีตึกสูงอยู่อย่างหนา แน่นเท่านั้น ซึ่งนั่นหมายความว่าอาคารที่มีความสูงเกินกว่า 30 ชั้น หากไม่มีการวางระบบป้องกันไว้อย่างดีมีความเสี่ยงต่อความเสียหาย ที่เกิดจากอัคคีภัยได้สูง

พ.ต.อ.พิชัย เกรียงวัฒนสิริ ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ระบุว่า อาคารสูงมีกฎหมายควบคุมอาคารอย่างเข้มงวด โดยต้องติดตั้งระบบดับไฟอัตโนมัติไว้ให้พร้อม และกำหนดให้ฝึกอพยพหนีไฟอย่างน้อยปีละครั้ง แต่ที่ผ่านมามีหลายแห่งโดยเฉพาะอาคารเก่าไม่ได้ทำตามอย่างเคร่งครัดจึงมี ความเสี่ยงต่อการเกิดภัย ซึ่งอยากขอความร่วมมือจากเจ้าของอาคารเหล่านี้ให้ดำเนินการตามที่กฎหมายระบุ อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้อาคารเอง

  “สมัยก่อนจะไม่เห็นอาคารที่ติดตั้งสปริงเกลอร์ อาจจะไม่เห็นสโมกดีเทคเตอร์ต่างๆ แต่อาจมีแค่ปั๊มน้ำ มีสายดับเพลิง มีถังดับเพลิง แต่ปัจจุบันนี้เทคโนโลยีพัฒนาไปไกล มีโอกาสที่จะป้องกันเหตุที่อาจนำมาสู่ความเสียหายร้ายแรงได้ แต่อาคารเก่าบางแห่งอาจลำบากที่จะติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม บางครั้งมันไม่เหมาะสม พื้นที่มันไม่ให้ ก็ควรมีอุปกรณ์ในการป้องกันอัคคีภัยอย่างอื่นทดแทน" พ.ต.อ.พิชัย กล่าว

ในรอบ 6 เดือนที่ผ่านมา เกิดเพลิงไหม้อาคารสูงในกรุงเทพมหานคร 91 ครั้ง ในจำนวนนี้มีไหม้อาคารสูง 48 ครั้ง ซึ่งเพลิงดับก่อนที่เจ้าหน้าที่ดับเพลิงจะเดินทางถึง 43 ครั้ง เพราะอาคารมีระบบป้องกันภัย                  ส่วนสาเหตุที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตกรณีเกิดเพลิงไหม้ส่วนใหญ่เป็นเพราะสำลัก ควัน ซึ่งสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดฝึกอบรมให้ความรู้ และฝึกซ้อมแผนรับมืออัคคีภัยในอาคารสูงอย่างต่อเนื่อง

แต่ที่ผ่านมากลับพบว่า ผู้ที่ใช้อาคารสูงจำนวนไม่น้อยยังขาดความตื่นตัวและไม่สนใจที่จะเข้าฝึกซ้อม แผนรับมืออัคคีภัย ที่ทางอาคารสูงต่างๆ จัดขึ้นเป็นประจำ อย่างเช่น นายวุฒิวงค์ อมาตยกุล ผู้พักอาศัยในอาคารสูง ยอมรับว่า ยังคงใช้อุปกรณ์ดับเพลิงที่มีติดตั้งไว้ตามอาคารต่างๆ ไม่เป็น แม้ว่าจะเห็นอุปกรณ์เหล่านี้อยู่ตามอาคารสูงหลายจุด

สอดคล้องกับ น.ส.ปราณี ขบวนพล พนักงานทำงานบนอาคารสูง ที่ยอมรับว่า ทุกครั้งที่มีการซ้อมแผนอพยพจากกรณีเพลิงไหม้ ผู้ใช้อาคารส่วนใหญ่จะให้ความร่วมมือน้อย ซึ่งคิดว่าทุกคนควรให้ความร่วมมือเพราะหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นจริงจะได้รู้ว่า จะเอาตัวรอดได้อย่างไร ใช้เส้นทางไหนหลบหนี

อาคารสูงจะมีกฎหมายควบคุมอาคารอย่างเข้มงวด แต่หลายแห่ง มีโอกาสเสี่ยงเกิดอัคคีภัย โดยเฉพาะอาคารเก่าที่ระบบป้องกันยังไม่ได้มาตรฐานไม่มีระบบป้องกันที่ดี การฝึกซ้อมแผนอพยพหนีไฟอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง จะช่วยป้องกันความเสี่ยงและลดความสูญเสีย หากมีอัคคีภัยเกิดขึ้น

คมชัดลึกออนไลน์วันที่ 28-07-2557




Safety Fire

สธ. เตือนภัย ฟ้าผ่าฝนฟ้าคะนองห้ามใช้โทรศัพท์ – ท่องเน็ต
วันครอบครัวของพวกเรา article
ค่านิยมหลัก 12 ประการ article
ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดไฟไหม้รถ
บอก-เล่า การจัดฝึกดับเพลิง...
การติดต่อลุกลาม
รู้แล้วเอาตัวรอด “เพลิงไหม้” มีสติ...เพิ่มโอกาสปลอดภัย
ข้อหารือกฎหมายความปลอดภัย (การฝึกดับเพลิงขั้นต้น)
การอบรมลูกจ้างเรื่องการป้องกันและระงับอัคคีภัย



Copyright © 2010 All Rights Reserved.