ปัจจุบันมีกฎกระทรวงที่ออกโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานพ.ศ.๒๕๕๔ ซึ่งกำหนดเรื่องเกี่ยวกับการฝึกอบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัย จำนวน ๒ ฉบับ คือ
๑. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับการป้องกันและระงับอัคคีภัย พ.ศ.๒๕๕๕ มีรายละเอียดสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดให้นายจ้างจัดให้มีระบบป้องกันและระงับอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ซึ่งรวมถึงการกำหนดให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมการป้องกันและระงับอัคคีภัยแก่ลูกจ้าง ส่วนขอบเขตการบังคับใช้ จะบังคับใช้กับสถานประกอบกิจการทุกประเภทกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป แต่มีบางกรณีจะกำหนดการบังคับใช้แบบมีเงื่อนไขเฉพาะเช่น
? สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไป นายจ้างต้องจัดทำแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย (ข้อ ๔)
? สถานประกอบกิจการที่มีอาคารตั้งแต่สองชั้นขึ้นไป หรือมีพื้นที่ประกอบกิจการตั้งแต่สามร้อยตารางเมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ในสถานประกอบกิจการทุกชั้น (ข้อ ๙)
? สถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างร้ายแรงหรืออย่างปานกลาง นายจ้างต้องจัดให้มีระบบน้ำดับเพลิงและอุปกรณ์ประกอบ เพื่อใช้ในการดับเพลิงและจัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้สำหรับสถานที่ซึ่งมีสภาพเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัยอย่างเบา นายจ้างอาจจัดให้มีเครื่องดับเพลิงแบบเคลื่อนย้ายได้ อย่างเดียวก็ได้ (ข้อ ๑๕)
ข้อ ๒๗ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนลูกจ้างในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบกิจการรับการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น โดยให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้ดำเนินการฝึกอบรม
ข้อ ๓๐ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างทุกคนฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟพร้อมกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทั้งนี้ ให้ลูกจ้างของนายจ้างทุกรายที่ทำงานอยู่ในอาคารเดียวกันและในวันและเวลาเดียวกันทำการฝึกซ้อมพร้อมกัน และก่อนการฝึกซ้อมไม่น้อยกว่าสามสิบวัน ให้นายจ้างส่งแผนการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกซ้อมต่ออธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เพื่อให้ความเห็นชอบ
ในกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟตามวรรคหนึ่งได้เองจะต้องให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานเป็นผู้ดำเนินการฝึกซ้อม
๒. กฎกระทรวงการเป็นหน่วยงานฝึกอบรมการอบรมดับเพลิงขั้นต้น และหน่วยงานฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ พ.ศ.๒๕๕๖
มีขอบเขตการบังคับใช้กับนิติบุคคล
ที่ประสงค์จะให้บริการเกี่ยวกับการจัดฝึกอบรมในหลักสูตรการอบรมดับเพลิงขั้นต้น และหลักสูตรฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ โดยมีรายละเอียดสาระสำคัญเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอใบอนุญาตเป็นหน่วยงานฝึกอบรมหลักสูตรการอบรมดับเพลิงขั้นต้น และหลักสูตรฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ เช่น
? กำหนดคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขออนุญาต ต้องเป็นนิติบุคคล ที่มีสำนักงานในประเทศไทย และมีวัตถุประสงค์ในการจัดฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (ข้อ ๒)
? กำหนดเนื้อหาวิชาหลักสูตรการอบรมดับเพลิงขั้นต้น ต้องมีกำหนดระยะเวลาการฝึกอบรมภาคทฤษฎีไม่น้อย ๓ ชั่วโมง ภาคปฏิบัติไม่น้อยกว่า ๓ ชั่วโมง (ข้อ ๒๐ – ๒๑)
? กำหนดห้องอบรมสำหรับหลักสูตรการอบรมดับเพลิงขั้นต้น ภาคทฤษฎีหนึ่งห้องต้องมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินหกสิบคน ภาคปฏิบัติต้องมีวิทยากรอย่างน้อยหนึ่งคนต่อผู้เข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินยี่สิบคน(ข้อ ๒๕)
? กำหนดค่าบริการในการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น ให้จัดเก็บได้ในอัตราไม่เกิน ๑,๕๐๐ บาท / คน (ข้อ ๓๐)
? กำหนดค่าบริการในการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ ให้จัดเก็บได้ในอัตราตามจำนวนผู้เข้ารับการฝึกซ้อม เช่น ข้อ ๓๑ (๑) ในการฝึกซ้อมตั้งแต่ ๑๐ ถึง ๙๙ คน ไม่เกินครั้งละ ๑๕,๐๐๐ บาท
ตารางสรุปการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้นและฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
เรื่อง
|
หลักสูตรการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น
|
หลักสูตรฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
|
๑. ขอบเขตการใช้บังคับ
|
สถานประกอบกิจการทุกประเภทกิจการ
ที่มีลูกจ้างตั้งแต่หนึ่งคนขึ้นไป
|
สถานประกอบกิจการทุกประเภทกิจการที่มี
ลูกจ้างตั้งแต่สิบคนขึ้นไป
|
๒. จำนวนผู้ที่ต้องได้รับ
การอบรม
|
ไม่น้อยกว่าร้อยละสี่สิบของจำนวนลูกจ้าง
ในแต่ละหน่วยงานของสถานประกอบกิจการ
|
ลูกจ้างทุกคน
|
๓. ระยะเวลาที่ต้อง
จัดให้มีการอบรม
|
หากลูกจ้างได้รับการอบรมครบร้อยละสี่สิบ
ก็ไม่ต้องจัดอบรมอีก เว้นแต่มีลูกจ้างเข้างานใหม่
อันมีผลทำให้สัดส่วนจำนวนของลูกจ้างไม่เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
|
อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง
|
๔. ผู้ดำเนินการจัดการอบรม
|
ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและ
คุ้มครองแรงงานเป็นหน่วยงานการฝึกอบรม
หลักสูตรการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น
|
กรณีนายจ้างดำเนินการฝึกอบรมเอง ให้ส่งแผน
การฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
รวมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับการฝึกซ้อมต่ออธิบดี
หรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมาย เพื่อให้ความเห็นชอบ
แต่ถ้านายจ้างไม่สามารถดำเนินการฝึกซ้อมเอง จะต้องให้ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการ
และคุ้มครองแรงงานในหลักสูตรฝึกซ้อมดับเพลิง
และฝึกซ้อมอพยพหนีไฟเป็นผู้ฝึกซ้อม
|
๕.วิธีการดำเนินจัดการฝึกอบรม
|
อบรมภาคทฤษฎี ๓ ชั่วโมง
และอบรมภาคปฏิบัติ ๓ ชั่วโมง
|
ให้มีการประชุมชี้แจงและซักซ้อมผู้เกี่ยวข้อง
ให้เข้าใจในเรื่องแผนการดับเพลิงและวิธีการ
ดับเพลิงของสถานประกอบกิจการแผนการอพยพ
หนีไฟและวิธีอพยพหนีไฟของสถานประกอบกิจการ การค้นหา ช่วยเหลือ และเคลื่อนย้ายผู้ประสบภัย กำหนดระยะเวลาการฝึกซ้อม พิจารณาจากแผน
และจำนวนลูกจ้างที่เข้ารับการฝึกซ้อม
|
๖. สถานที่ฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
|
ณ สนามฝึกของหน่วยงานที่ดำเนินการฝึกอบรม
หรือลานฝึกภายในสถานประกอบกิจการที่
ลูกจ้างปฏิบัติงานอยู่
|
ต้องฝึกซ้อมอพยพหนีไฟออกจากอาคารตาม
เส้นทางที่กำหนดไว้ในสถานประกอบกิจการที่
ลูกจ้างปฏิบัติงานอยู่
|
๗. การรายงานผล
|
ไม่ต้องรายงานผล แต่ให้เก็บหลักฐานไว้ให้ตรวจ
|
รายงานตามแบบที่อธิบดีกำหนด ภายในสามสิบวัน
นับแต่วันที่เสร็จสิ้นการฝึกซ้อม
|
บทความโดย นางสาวสุนีย์ ตันติวุฒิพงศ์ สำนักความปลอดภัยแรงงาน