ReadyPlanet.com
dot dot
bulletติดต่อ-จองการฝึกอบรม
bulletติดต่อซื้อสินค้า
bulletแผนที่
dot
E-mail

dot
bulletสนามฝึกดับเพลิง บริษัท บีพีฯ
bullet Facebook BP
bulletตย.เอกสาร ILO-OSHMS-2001
bulletตย.เอกสาร มอก 18000
bulletมุม จป.
bulletข่าว วิทยากร/ครูฝึก




OSHMS-SP-08 การป้องกันเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

 

 

AMARIN

PRINTING & PUBLISHING

 

ระเบียบปฏิบัติ

หมายเลขเอกสาร:

OSHMS-SP-08

ออกเอกสารเมื่อ:  01-01-55

เรื่อง :  การป้องกันเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน

แก้ไขครั้งที่ :   00

หน้า : 1/3

1. วัตถุประสงค์ 

     เพื่อกำหนดขั้นตอนและมาตรการ ที่จะลดความรุนแรงหรือความสูญเสียของเหตุการณ์ฉุกเฉินที่จะเกิดขึ้นซึ่งมีผลกระทบรุนแรงต่อบุคคล ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือร่วมกัน

               

2. ขอบเขต

    ขั้นตอนการดำเนินการนี้ใช้สำหรับการเตรียมความพร้อมและตอบสนองต่อภาวะฉุกเฉินในพื้นที่รับผิดชอบ   

 

3. เอกสารอ้างอิง

    ไม่มี

             

4. นิยาม

    เหตุการณ์ฉุกเฉิน   หมายถึง   สภาวะผิดปกติที่ไม่สามารถควบคุมได้ และส่งผลกระทบรุนแรงต่อ บุคคลทรัพย์สินกระบวนการผลิต และสิ่งแวดล้อมอย่างใดอย่างหนึ่งหรือร่วมกัน

   หน่วยงาน   หมายถึง   ส่วนอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

 5. รายละเอียด

5.1 หน่วยงานจัดทำแผนรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินทำการประเมินเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์กร

5.2 หน่วยงานดำเนินการประเมินเหตุการณ์ฉุกเฉินพิจารณาข้อมูลจากผลการประเมินความเสี่ยงตามขั้นตอนการดำเนินงานเรื่องการประเมินความเสี่ยงมาระบุเหตุฉุกเฉินที่ต้องการเตรียมแผนรองรับลงในแบบประเมินความเสี่ยงเหตุฉุกเฉิน (OSHMS-FM-22) โดยพิจารณาโอกาสการเกิดกับความรุนแรงของเหตุการณ์เสนอคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ) ให้พิจารณาผลการประเมินเหตุการณ์ฉุกเฉิน กรณีที่เป็นเหตุฉุกเฉินตามกฎหมายกำหนด เช่น อัคคีภัย สารเคมีอันตรายหกรั่วไหล เป็นต้นให้หน่วยงานจัดทำแผนรองรับ โดยไม่จำเป็นต้องพิจารณาโอกาสการเกิด กับความรุนแรงของเหตุการณ์

  5.3   หลังจากผ่านความเห็นชอบในขั้นตอน 5.2 แล้ว ให้หน่วยงานดำเนินการจัดทำแผนการเตรียมการรองรับเหตุฉุกเฉิน

5.4   เมื่อหน่วยงานได้ดำเนินการแล้วเสร็จให้นำแผนการเตรียมการรองรับเหตุฉุกเฉินเสนอคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ) ให้ความเห็นชอบก่อนนำเรียนเสนอผู้บริหารสูงสุด เพื่อพิจารณาอนุมัติ และประกาศใช้ต่อไป

5.5   เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และหรือหน่วยงานจัดทำตารางแผนงานการซ้อมแผนฉุกเฉินประจำปี (OSHMS-FM-22) แผนการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเตรียมความพร้อม (OSHMS-FM-23) และดำเนินการฝึกซ้อม และตรวจสอบอุปกรณ์ตามแผน

         สำหรับกรณีแผนป้องกันและระงับอัคคีภัยประจำปี เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และหรือหน่วยงาน ต้องดำเนินการส่งแผนให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ทราบก่อนทำการซ้อมแผน 1 เดือน และเมื่อซ้อมเสร็จ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ และหรือหน่วยงานทำรายงานสรุปผลการดำเนินการให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ตามแบบรายงานผลการฝึกซ้อมดับเพลิงและหนีไฟ 

5.6   ดำเนินการประเมินเหตุการณ์ฉุกเฉินและทบทวนแผนรองรับเหตุการณ์ฉุกเฉินอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง

 

6.  การควบคุมบันทึก

 

หมายเลขเอกสาร

ชื่อบันทึกคุณภาพ

การจัดเก็บ

การทำลาย

 

 

ระยะเวลา

สถานที่

วิธีการ

ผู้อนุมัติ

วิธีการ

OSHMS-FM-21

แบบประเมินความเสี่ยงเหตุการณ์ฉุกเฉิน

 

 

 

 

 

OSHMS-FM-22

ตารางแผนงานการซ้อมแผนฉุกเฉิน

 

 

 

 

 

 

OSHMS-FM-23

แผนการตรวจสอบอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการเตรียมความพร้อม

 

 

 

 

 

 

 

 

 




ระบบ ILO-OSHMS-2001

OSHMS-SP-15 การป้องกันและแก้ไข
OSHMS-SP-14 การทบทวนการจัดการโดยฝ่ายบริหาร
OSHMS-SP-13 การตรวจสอบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-12 การสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์
OSHMS-SP-11 การเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงานและสุขภาพ
OSHMS-SP-10 การจ้างเหมา
OSHMS-SP-09 การจัดซื้อ จัดหา
OSHMS-SP-07 การประเมินความเสี่ยง
OSHMS-SP-06 วัตถุประสงค์ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-05 การทบทวนเบื้องต้น
OSHMS-SP-04 การติดตามและการดำเนินการฯลฯ
OSHMS-SP-03 การสื่อสาร
OSHMS-SP-02 การจัดทำเอกสารระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-01 ความสามารถเฉพาะและการฝึกอบรม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.