ReadyPlanet.com
dot dot
bulletติดต่อ-จองการฝึกอบรม
bulletติดต่อซื้อสินค้า
bulletแผนที่
dot
E-mail

dot
bulletสนามฝึกดับเพลิง บริษัท บีพีฯ
bullet Facebook BP
bulletตย.เอกสาร ILO-OSHMS-2001
bulletตย.เอกสาร มอก 18000
bulletมุม จป.
bulletข่าว วิทยากร/ครูฝึก




OSHMS-SP-03 การสื่อสาร

 

 

AMARIN

PRINTING & PUBLISHING

 

ระเบียบปฏิบัติ

หมายเลขเอกสาร:

OSHMS-SP-03

ออกเอกสารเมื่อ:  01-01-55

เรื่อง :  การสื่อสาร

แก้ไขครั้งที่ :   00

หน้า : 1/5

 1.วัตถุประสงค์

 

เพื่อประกันว่าพนักงานและผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับและเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย

และอาชีวอนามัยอย่างทั่วถึงทุกระดับ

 

2.ขอบเขต 

               กำหนดแนวทางในการสื่อสารด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยทั้งภายในและภายนอกองค์กร

 3.เอกสารอ้างอิง

               OSHMS-SP-04 ระเบียบปฏิบัติงานเรื่อง การติดตามและการดำเนินการให้เป็นไปตามกฏหมาย

                และข้อบังคับของรัฐ

                OSHMS-SD-01 คู่มือความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

 4.นิยาม

 OSHMR หมายถึง ผู้จัดการส่วนอาชีวอนามัยและความปลอดภัย หรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร

 5.รายละเอียด

               5.1  OSHMR หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการสื่อสารด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัยโดยใช้ทางช่องทางและรูปแบบต่างๆ โดยสิ่งที่ต้องสื่อสารควรมีอย่างน้อยดังต่อไปนี้

                5.1.1 นโยบายความปลอดภัยและอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

                5.1.2 เอกสารระเบียบปฏิบัติงานและวิธีปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัยที่หน้างานตามความจำเป็น

                5.1.3 การดำเนินการในการเลือกตั้ง คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน(คปอ)จะต้องดำเนินการปิดประกาศรับสมัคผู้แทนลูกจ้างระดับปฏิบัติการตามระยะเวลาที่กำหนดไว้

                5.1.4 เอกสารแสดงรายชื่อคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ) หน้าที่รับผิดชอบต้องปิดประกาศโดยเปิดเผยและตามระยะเวลาที่กฏหมายกำหนดไว้

                5.1.5 บันทึกรายงานการประชุม คณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ) หรือผลการดำเนินงานของ เจ้าหน้าที่ความปลดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ จะต้องจัดเก็บไว้หรือรายงานภาครัฐ ต้องดำเนินการตามระยะเวลาที่กฏหมาย

                และข้อบังคับของรัฐนั้นๆ กำหนดไว้เป็นอย่างน้อยโดยให้ปฏิบัติตามระเบียนปฏิบัติงาน  เรื่องการติดตามและการดำเนินการให้เป็นไปตามกฏหมายและข้อบังคับของรัฐ (OSHMS-SP-04)

                5.1.6 ผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัย เช่น ผลการปฏิบัติตามแผนงาน นโยบายเป้าหมายการวัดผลสถิติอุบัติเหตุจะต้องปิดประกาศ ประชาสัมพันธ์ให้พนักงานทราบ

                5.1.7 OSHMR หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายดำเนินการแจ้งข้อมูลเกี่ยวกับผลการตรวจวัดสภาพแวดล้อมและผลการตรวจสุภาพให้พนักงานที่เกี่ยวข้องทราบและต้องรักษาเป็นความลับโดย OSHMR/ลูกจ้างต้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้

5.2          หัวหน้าหน่วยงานต้องแจ้งข่าวสาร ระเบียบปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงานทุกขั้นตอนหรือวิธีการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลงให้พนักงานในหน่วยงานของตนเองทราบโดยการประชุมชี่แจงหน้างาน หรือปิดประกาศประชาสัมพ์ในบอร์ดข่าวสารที่หน้าหน่วยงงานตามความเหมาะสม

5.3          OSHMR ประสานงานร่วมกับฝ่ายบุคคลต้องดำเนินการจัดปฐมนิเทศด้านความปลอดภัยและ

                อาชีวอนามัยให้กับพนักงานงานใหม่ทุกคนได้รับทราบ นโยบายความปลอดภัย กฏระเบียบความปลอดภัยวิธีการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย ป้ายสัญญาลักษณ์ป้ายเตือนอันตรายแผนฉุกเฉิน ในส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะให้พนักงานใหม่ปฏิบัติงาน

5.4          พนักงานใหม่หรือพนักงานที่เปลี่ยนลักษณะงานใหม่ต้องได้รับการสอนวิธีการปฏิบัติงาน

เพื่อความปลอดภัยจากหัวหน้าหน่วยงาน โดยการที่หัวหน้าหน่วยงานสอนวิธีปฏิบัติงานตาม

ที่กำหนดไว้ในคู่มือความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

(OSHMS-SD-01)

5.5          ผลการประชุมคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ) ที่จำเป็นต้องแจ้งให้แต่ละหน่วยงานทราบ ให้เลขา คปอ. ทำหน้าที่แจ้งผลการประชุมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานในหน่วยงานนั้นๆ ให้หัวหน้าหน่วยงานทราบ

                และหน่วยงานต้องแจ้งให้พนักงานในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบทันที เพื่อที่จะได้ดำเนินการ

ปฏิบัติการแก้ไขและป้องกันตามมติที่ประชุมของ คปอ.

5.6          หน่วยงานควรกำหนดให้มีกิจกรรม ข้อเสนอแนะและนำข้อเสนอแนะนั้นๆ เข้าสู่การประชุมของกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ) และแจ้งผลการประชุมให้พนักงานทราบ

5.7          จัดให้มีการประชุมหัวหน้าหน่วยงานอย่างสม่ำเสมอตามความเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อแจ้งข้อมูลและดำเนินการด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยให้หัวหน้างานและพนักงานทราบ

5.8          OSHMR จัดทำแผนกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยนำเข้า สู่การพิจารณาทบทวนของคณะกรรมการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาแวดล้อมในการทำงาน (คปอ)และดำเนินการจัดกิจกรรมส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยตามแผนงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

5.9          บุคคลภายนอกที่เข้ามาติกต่อบริษัทต้องลงทะเบียนรายชื่อผู้มาเยี่ยม (OSHMS-FM-11) และได้รับทราบกฎระเบียบเพื่อความปลอดภัยโดยกฎระเบียบต้องกำหนดไว้ในใบผ่านเข้า-ออกบริษัทแนบกับบัตรเข้าออก (Visitor) หรือบุคคลภายนอกที่ต้องการมาเยี่ยมชมบริษัทเป็นหมู่คณะควรได้รับคำแนะนำการปฎิบัติตนเพื่อความมปลอดภัยก่อนที่จะนำชมกระบวนการทำงานหรือกิจกรรมขององค์กร

5.10        เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ หรือผู้ได้รับมอบหมายต้องสื่อสารข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานโดยวิธีการประชุมชี้แจ้งข่าวหรือปิดประกาศให้ผู้รับเหมาทราบอย่างสม่ำเสมอในระหว่างที่ผู้รับเหมามาปฎิบัติงานในองค์กร

5.11        การสื่อสารข้อมูลด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัยจะต้องจัดเก็บเป็นบันทึก

 

6.การควบคุมบันทึก

หมายเลขเอกสาร

ชื่อบันทึกคุณภาพ

การจัดเก็บ

การทำลาย

ระยะเวลา

สถานที่

วิธีการ

ผู้อนุมัติ

วิธีการ

OSHMS-FM-11

ทะเบียนรายชื่อผู้

 

 

 

 

 

 

มาเยี่ยม (Visitor )

       

 

 

 

 

 

 

 

 

 




ระบบ ILO-OSHMS-2001

OSHMS-SP-15 การป้องกันและแก้ไข
OSHMS-SP-14 การทบทวนการจัดการโดยฝ่ายบริหาร
OSHMS-SP-13 การตรวจสอบระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-12 การสอบสวนอุบัติเหตุ อุบัติการณ์
OSHMS-SP-11 การเฝ้าระวังสภาพแวดล้อมในการทำงานและสุขภาพ
OSHMS-SP-10 การจ้างเหมา
OSHMS-SP-09 การจัดซื้อ จัดหา
OSHMS-SP-08 การป้องกันเตรียมความพร้อมและตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน
OSHMS-SP-07 การประเมินความเสี่ยง
OSHMS-SP-06 วัตถุประสงค์ความปลอดภัย และอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-05 การทบทวนเบื้องต้น
OSHMS-SP-04 การติดตามและการดำเนินการฯลฯ
OSHMS-SP-02 การจัดทำเอกสารระบบการจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย
OSHMS-SP-01 ความสามารถเฉพาะและการฝึกอบรม



Copyright © 2010 All Rights Reserved.